กฎหมายเกี่ยวกับภาษีการซื้อ-ขายที่คุณควรทราบ

กฎหมายเกี่ยวกับภาษีการซื้อ-ขายที่คุณควรทราบ

นอกจากการค้าขายทำกำไรแล้วนั้น สิ่งที่ทุกๆ ท่านคนที่จะศึกษาหาความรู้ใส่ตัวกันเอาไว้นั้นก็คือเรื่องเกี่ยวกับ “กฎหมายเกี่ยวกับภาษีการซื้อ-ขาย” นั้นเองครับ เพราะเรามักจะเห็นพ่อค้าแม้ค้าตกม้าตายกับเรื่องการจ่ายภาษีย้อนหลังกันมานักต่อนักแล้ว วันนี้เราจึงจะพาไปหาความรู้กันสักหน่อยครับ

ภาษีการค้าคืออะไร

ภาษีการค้า (business tax) – ภาษีการขายที่เก็บกับสินค้าขั้นสุดท้ายทุกชนิดในอัตราเดียวกันโดยไม่มีข้อยกเว้น เราเรียก ภาษีการขายนั้นว่า อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยมีอัตราเดียว คือร้อยละ 7 จัดเก็บจาก ผู้ประกอบการกิจการสินค้าและบริการทุกประเภท ยกเว้นกิจการที่ให้การบริการและ การขายสินค้าที่กำหนดไว้ (24 ประเภท)

แล้วภาษีทางตรงกับทางอ้อมเป็นอย่างไร

ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากรายได้และทรัพย์สินต่างๆของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่นได้

ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากผู้บริโภคเป็นภาษีที่เป็นการผลักภาระทั้งหมดหรือบางส่วนให้กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเป็นผู้รับชำระภาษีอากรแทนผู้ขาย รัฐบาลจัดเก็บภาษีทางอ้อมเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ เช่น การสร้างถนน การสนับสนุนการศึกษา สาธารณสุข การพัฒนาแหล่งน้ำ เงินสนับสนุนโครงการภาครัฐ ตลอดจนใช้เป็นงบประมาณที่จัดสรรให้กับกระทรวงต่างๆ เป็นต้น

ซึ่          งเราสามารถสรุปสั้นๆ ได้ใจความว่า กฏหมายระบุ “ผู้ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนดในช่วงต่างๆ จะต้องทำการเสียภาษีให้กับภาครัฐ  หากไม่ทำตามจะโดนโทษจำคุกหรือทั้งจำทั้งปรับขึ้นกับยอดภาษีหรือข้อมูลต่างๆ ” นั้นเอง

รู้จักกับภาษีออนไลน์

การจ่ายภาษีคือหน้าที่ของประชาชนทุกคนทุกประเทศ ทว่าในปัจจุบันหลายคนยังเข้าใจว่าหากทำการขายของผ่านช่องทางออนไลน์นั้นไม่จำเป็นต้องเสียภาษี ซึ่งคงต้องอธิบายให้ชัดเจนว่าอย่างไรก็ต้องเสียภาษีในรูปแบบของภาษีเงินได้

ภาษีของการขายของออนไลน์นับเป็นภาษีเงินได้จากการค้าขาย ซึ่งจะมีการแบ่งการคำนวณเป็นสองประเภท คือ

– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: กรณีเป็นพ่อค้าแม่ค้าธรรมดา
– ภาษีเงินได้นิติบุคคล: กรณีที่ร้านค้านั้น ๆ มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท

การคำนวณอัตราภาษีนั้นไม่ได้แตกต่างกับการจ่ายภาษีตามปกติ คือคิดตามอัตราขั้นบันไดตามกฏหมายกำหนด และมีค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักภาษีได้ดังนี้

– หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% ของเงินได้ สำหรับร้านที่ดำเนินการแบบซื้อมา ขายไป ไม่มีการผลิตภายในร้าน
– หักตามค่าใช้จ่ายจริง สำหรับบ้านที่มีการผลิตภายในร้าน
– หักแบบเหมา กรณีที่มีรายได้จากช่องทางออนไลน์เกิน 1,000,000 บาท โดยคิดภาษีเป็น 0.5% ของเงินได้

ซึ่งคนทั่วไปก็สามารถคิดภาษีได้ด้วยตัวเอง หรือใช้โปรแกรมในการคำนวณด้วยสูตร (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) และแน่นอนว่าหากรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ก็มีโอกาสที่จะไม่ต้องเสียภาษีเช่นกัน

พ่อค้าแม่ค้าต้องทำอย่างไรบ้างในการเตรียมตัวยื่นภาษีตามกฏหมาย

สำหรับการเตรียมตัวไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด โดยปกติแล้วการค้าขายออนไลน์จะต้องมีการบันทึกข้อมูลลูกค้า การใช้จ่าย ลงทุน รวมถึงการรับเงินอยู่แล้ว สิ่งที่พ่อค้าแม่ค้าทุกคนต้องทำเพิ่มขึ้นมาก็คือ

●บันทึกทุกอย่าง ทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อสามารถตรวจสอบได้ว่าเรามีรายรับรายจ่ายประเภทใด อย่างไรบ้าง

●ไม่ทิ้งหลักฐานที่เกี่ยวกับการค้าให้หายไป เมื่อทางกรมสรรพากรมีคำถามเกี่ยวกับรายรับรายจ่าย นอกจากจะได้เห็นบันทึกรายรับรายจ่าย ยังมีหลักฐานทางธุรกรรมเพื่อยืนยันว่าเราได้ดำเนินการโอนรับ จ่าย หรือลงทุนตามจริงด้วย

●ติดตามข่าวการเงิน โดยเฉพาะด้านภาษีที่มีการอัปเดตในแต่ละปีตามการไหลเวียนของเงินในประเทศและต่างประเทศ แต่หากไม่มีความรู้ด้านการเงินอาจทำให้พลาดเสียเงินมากเกินความจำเป็นหรือจ่ายภาษีซ้ำซ้อนได้

●หาความรู้เกี่ยวกับภาษีเงินได้ รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เพื่อที่จะสามารถจัดการรายรับรายจ่ายในแต่ละปี รู้ว่าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ลดหย่อนภาษีได้ด้วยวิธีใดบ้าง

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “กฎหมายเกี่ยวกับภาษีการซื้อ-ขายที่คุณควรทราบ”ที่เราได้รวบรวมมาอธิบายทุกๆ ท่านกันในข้างต้น หวังว่าจะสามารถเตรียมตัวได้ดีมากขึ้นและไม่ทำผิดกฏหมายกันนะครับ